วันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

บทความที่  3

เราควรใส่ฟิลลิ่ง  หรืออารมณ์เพลงมากน้อยแค่ไหน  
เรื่องนี้อธิบายยากเหมือนกัน  มันเป็นความรู้สึกของผู้ร้องเพลงนั้น ๆ ทั้งตอนที่เริ่มฟังต้นฉบับ หรือ เริ่มทำงานเพลงนั้นใหม่ๆ แบบไม่เคยฟังมาก่อนเลยก็ล้วนแต่ต้องอาศัยความเข้าใจจากผู้ที่จะร้องเพลงนั้น ๆ เอง  ก่อนอื่นเราควรจะอ่านเนื้อเพลงให้จบสักสองสามเที่ยวแล้วสรุปให้เหลือไม่เกิน 2 บรรทัดว่า  เพลง ๆ นั้นมีใจความอย่างไรเขาแต่งขึ้นมาเพื่อบอกอะไรแก่ผู้ฟัง   นั่นคือเราต้องหัดตีความหมายให้เข้าใจเสียก่อน  ส่วนใหญ่พอได้ยินก็ร้องตามเลย  แบบพอจำได้ พอจำได้ทั้งเนื้อเพลง และ ทำนองเพลง ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดนะก็ทำได้ค่ะ  ถ้าเราไม่ได้จริงจังที่จะต้องทำงานทำได้












  แต่หลายคนที่ต้องทำงานหรือต้องประกวดร้องเพลง  จะต้องใส่ใจรายละเอียดมากขึ้นกว่าที่จะร้องสนุก ๆ ร้องเล่น ๆ ร้องเพลิน ๆ เพราะเขาต้องเสนองานให้ผ่านประกวดให้เข้ารอบ  พอรู้แบบนี้แล้ว เราก็น่าจะคิดต่ออีกสักนิดว่า  แล้วทำไมเราไม่ทำให้การร้องเพลงดูมีอะไรที่น่าสนใจมากกว่าที่เราเคยร้องเล่น ๆ ล่ะคะ  เพราะมันน่าจะไพเราะมากกว่าเดิมเยอะ  เมื่อเราใส่ใจให้เข้าถึงเพลงย่อมทำให้เราได้เสพความสุขจากการฟังและการร้อง  สนุกกับการได้พัฒนาการร้องเพลง  ทำให้เราเพลิดเพลินและคนฟังเราก็เพลิดเพลิน และตัวเราเองก็ภูมิใจที่ทำได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ด้วยแม้จะไม่ได้เก่งแบบมืออาชีพ  แต่ก็ใกล้เคียงล่ะ    
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น